ลองมาดู แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก

เก็บไฟฟ้า

หลังจากที่เราได้ทำเสนอเรื่อง การค้นพบไฟฟ้า ไปแล้ว ก็มาถึงแนวคิดในการเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ โดยแนวคิดนี้ที่จะเก็บไฟฟ้านี้ ก็ได้นำไปสู้การสร้าง “แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก” ขึ้นมา เรารู้กันอยู่แล้ว่าแบตเตอรี่นั้นเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บไฟฟ้าไว้ และนำออกมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ แบตเตอรี่ยุคก่อนๆ แบ่งใหญ่ๆได้ 2 ประเภทคือ แบตเตอรี่เซลล์แห้ง และ แบตเตอรี่เซลล์เปียก

แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก
แบตเตอรี่รถยนต์

ผู้คิดค้นแบตเตอรี่

อาเลสซานโดร โวลตา (Alessandro Volta) ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้น แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก โดยเขาทำการทดลองโดยใช้แผ่นโลหะต่างชนิดกัน มาวางสลับกันเป็นชั้นๆ และใช้ผ้าชุบน้ำกรดหรือน้ำเกลือคั่นระหว่างกลาง โวลตาพบว่าอุปกรณ์จากการทดลองของเขานี้ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ และจากรายงานการวิจัยของเขากล่าวไว้อีกว่า ถ้ามีแผ่นโลหะซ้อนกันมากขึ้น ปริมาณของกระแสไฟฟ้าก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย จากการทดลองนี้จึงได้กลายเป็นต้นแบบของ แบตเตอรี่เซลล์เปียก เป็นต้นมา

แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก
แบตเตอรี่ของ Volta

แบตเตอรี่เซลล์เปียก นั้นชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเปียกคือมีส่วนประกอบของของเหลวในการให้กำเนิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบตเตอรี่เซลล์เปียก ไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องเคลื่อนที่ย้ายไปมา ในยุคเรื่มต้นของศตวรรษที่ 20 ได้มีการประดิษฐ์ แบตเตอรี่เซลล์แห้ง ขึ้นมา โดยใช้ของที่แข็งกว่ามาทดแทนของเหลวในเซลล์เปียก ทำให้มันกลายเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถพกพาได้สะดวกขึ้น

แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก
แบบแปลนแบตเตอรี่ของ Volta

แบตเตอรี่ในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่แทบจะขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันเรา แบ่งง่ายๆได้อยู่ 2 แบบ คือ แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ หรือ แบตเตอรี่ที่ใช้แล้วทิ้ง เนื่องจากไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากสารเคมีที่นำมาทำแบตเตอรี่ชนิดนี้ เมื่อเแปลงสภาพเป็นไฟฟ้าแล้วจะหมดจากแบตเตอรี่ไป ซึ่งจะเหมาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กและเคลื่อนย้ายสะดวก และใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย

แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก
ถ่านไฟฉาย
แบตเตอรี่ก้อนแรกของโลก
แบตเตอรี่กล้อง

แบบที่สองคือ แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เป็นแบบเตอรี่ที่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ลงไปได้ เนื่องจากสารเคมีภายในที่นำมาทำแบตเตอรี่นั้นสามาถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการอัดไฟฟฟ้ากลับเข้าไปในตัวแบตเตอรี่ หรือที่เรียกว่า รีชาร์จ ทำให้นำแบตเตอรี่นี้กลับมาใช้ใหม่ได้จนกว่าสารเคมีภายในจะเสื่อมสภาพไปจนไม่สามารถกลับมาเก็บประจุได้