ลองมาดู สิ่งมีชีวิตที่เหมือนกับไม่มีวันตาย
สิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงกับชีวิตอมตะ
“ชีวิตที่ไม่มีวันตาย” หรือ “ชีวิตอมตะ” คือสิ่งที่มนุษย์หลายคนใฝ่ฝันจะได้มัน แต่ไม่ว่าจะมีมนุษย์คนไหนทุ่มเทแสวงหาให้ได้มาซึ่งชีวิตอมตะ แต่ก็ไม่มีใครสามารถหนีพ้นความแก่ชรา และ ความตาย ไปได้ หากว่ามันดันมีสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่แทบจะเรียกได้ว่าใกล้เคียงคำว่าไม่มีวันตาย โดยความสามารถของมันนั้นสามารถย้อนวัยตัวเองได้ หรือโดนหั่นออกครึ่งนึง แล้วอีกส่วนนึงไปมีชีวิตใหม่ได้
และเจ้าสิ่งมีชีวิตแรก คือแมงกะพรุน ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Turritopsis nutricula ซึ่งไม่มีใครไปคิดว่าสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตอมตะ เป็นเพียงแมงกะพรุนตัวเล็กๆ เท่านั้นเอง โดยทั่วไปแล้วแมงกะพรุนจะตายเมื่อได้แพร่พันธุ์แล้ว แต่แมงกะพรุนสายพันธ์นี้หลังจากขยายพันธุ์ มันสามารถย้อนวงจรชีวิตของมันเอง กับสู่ไปวัยเด็กอีกครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งทำให้ในทางทฤษฎี มันจะไม่มีวันแก่ตาย
แต่ในความเป็นจริง แมงกะพรุนสายพันธ์นี้อาจจะป่วยตาย หรือถูกกินจากสัตว์อื่น การค้นพบนี้ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย สนใจศึกษาพวกมันเพื่อได้รู้ความลับที่จะได้เข้าใกล้เคียงคำว่า ชีวิตอมตะ
นอกจากแมงกระพรุนแล้วสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่งคือ เจ้าหนอนตัวแบน (Flat Worn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Schmidtea mediterranea นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหนอนอมตะอีก 1 สายพันธุ์ ด้วยชีวิตของพวกมันที่แทบจะเรียกว่าสับแบ่งออกเป็นชิ้นๆแล้วพวกมันยังไม่ตาย แล้วแต่ละชิ้นยังกำเนิดใหม่ได้อีกหนอนอมตะพวกนี้เป็น หนอนตัวแบน ส่วนมากพบเจออยู่ใต้ก้อนหินในสระน้ำ พวกมันมีสมองแบบพื้นๆมีลักษณะเป็นเซลล์ประสาทหนาแน่น (concentration of nerve cells) สืบพันธ์โดยใช้การแบ่งตัว
หนอนพวกนี้ที่เรียกกันว่าเป็นอมตะ เกิดจากการคาดว่าเป็นผลมาจากพวกมันมีเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) กระจายอยู่ทั่วร่างกายนักวิทยาศาสตร์ตัดมันออกเป็น 2 ท่อน ท่อนบนสามารถงอกหางใหม่ออกมาใหม่ ส่วนท่อนล่างก็จะสามารถงอกหัวใหม่ออกมาได้ แม้จะเคยตัวพวกมันออกสูงสุดได้ถึง 20 ท่อนโดยพวกมันก็ยังไม่ตาย
งานวิจัยนี้เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (Nottingham University) โดยขณะนี้นักวิจัยได้สร้างฝูงหนอนกว่า 20,000 ตัว จากหนอนเพียงตัวเดียว นักวิจัยมั่นใจว่าหนอนพวกนี้จะสามารถมีชีวิตเป็นอมตะ ได้ถ้าไม่มีการแบ่งตัว หรือเจ็บป่วยจากโรค
นักวิจัยได้เฝ้าสังเกตหนอนพวกนี้เป็นเวลา 4 ปี พบว่าตัวที่มีอายุยืนที่สุดสามารถมีอายุได้เกือบปี ก่อนที่จะติดเชื้อตาย แต่โดยทั่วไปพวกหนอนมีอายุประมาณ 2-3 วัน ทีมวิทยาศาสตร์คาดว่าความลับของหนอนอมตะนี้อยู่ที่ เทโลเมียร์ (Telomerase คือ ส่วนปลายของขด DNA) โดยทั่วไปของสัตว์ที่มีอายุสั้น เซลล์จะหยุดการแบ่งตัวและสร้างใหม่เมื่อไม่มีเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมไปร่างกายก็จะทรุดโทรมแสดงออกมาเป็นความชรา แต่ในหนอนอมตะนี้ เทโลเมียร์ จะไม่เสื่อมทำให้เซลล์สามารถแบ่งตัวได้ตลอด เหมือนกับว่ามันเกิดใหม่จากเซลล์เก่าของมันได้เรื่อยๆ