ลองมาดู ยานอวกาศลำแรกของโลก

ยานอวกาศและนักบินคนแรก

“ยานอวกาศลำแรกของโลก” มีชื่อว่า ยานอวกาศวอสตอค 1 (Vostok 1) เป็นยานที่สร้างขึ้นมาโดย สหภาพโซเวียต หลังจากที่ได้ทำการส่ง ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นไปโคจรรอบโลกได้สำเร็จ ยานอวกาศลำนี้ได้ถือเป็นยานอวกาศลำแรกของโลกที่มีมนุษย์โดยสารขึ้นไปด้วย เขาผู้นั้นมีชื่อว่า ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) ที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “นักบินอวกาศคนแรกของโลก” และได้ทำการโคจรรอบโลกได้สำเร็จ ด้วยเวลา 108 นาที

ยานอวกาศลำแรกของโลก
แบบจำลองของยาน vostok1
ยานอวกาศลำแรกของโลก
แบบจำลองของยาน vostok1

ยาน vostok 1

ยานอวกาศวอสตอค มีน้ำหนักว่า 4 ตัน ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 บันทึกเวลาปล่อยจากฐานยิงเวลา 9.07 น. ยานอวกาศลำนี้ สามารถโคจรรอบโลกได้เป็นเวลา 108 นาที ก่อนจะกลับสู่ชั้นบรรยกาศของโลก ในครั้งนั้นได้มีนักบินอวกาศ ยูริ กาการิน ขึ้นไปด้วย แต่ยานลำนี้ยังไม่ได้ออกแบบระบบลงจอดไว้ กาการินจึงต้องทำการดีดตัวออก ที่ความสูงกว่า 7,000 เมตร และลงสู่พื้นโลกโดยร่มชูชีพ แต่ถือได้ว่าเหตุการณ์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก กับการแข่งขันในออกสำรวจอวกาศ ที่ตอนนั้นมีแข่งขันกันอย่างเข้มข้นมากในยุคของสงครามเย็น

ยานอวกาศลำแรกของโลก
สภาพยาน vostok1 หลังกลับสู่พื้นโลก

หลังจาก vostok 1 ได้ขึ้นบิน

หลังจากเหตุการณ์ที่ ยานวอสตอค ได้ถูกปล่อยขึ้นไปโคจรรอบโลก พร้อมนักบินอวกาศ 1 คน และกลับลงสู่โลกได้อย่างปลอดภัย ทำให้ทางสหรัฐอเมริกาที่นำโดย ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี้ ก็ได้ประกาศสนับสนุน โครงการอะพอลโล ขององค์การอวกาศ NASA ทันที จนสามารถประสบความสำเร็จในการส่ง ยานอวกาศอะพอลโล 11 (Apollo11) ไปถึงดวงจันทร์ได้ พร้อมกับ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) นักบินอวกาศคนแรกที่ได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์

ยานอวกาศลำแรกของโลก
ภาพนักบินอวกาศบนพื้นผิวดวงจันทร์
ยานอวกาศลำแรกของโลก
สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) หรือ ISS

หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายรู้สึกว่า การแข่งขันในโครงการอวกาศนี้ สิ้นเปลืองงบประมาณไปโดยใช้เหตุ และไม่ได้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อมนุษยชาติโดยตรงเลย ประเทศมหาอำนาจต่างๆ จึงได้มีข้อตกลงด้านโครงการอวกาศร่วมกัน เกิดเป็น สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) หรือ ISS และได้ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายเชื้อชาติได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นไปประจำการที่สถานีอวกาศแห่งนี้